วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การเลี้ยงและดูแลแมวสายพันธุ์เมนคูน



การเลี้ยงและดูแลแมวสายพันธุ์เมนคูน



วิธีตรวจ แมวเมนคูน กระดูกเคลื่อน หรือเท้าเจ็บเบื่องต้น

เจ้าแสบ เมนคูนจอมซน ในวัยเด็กแมวเด็กนั้นมีความซุกซนมาก วิ่งไปทั่วชนอะไรก็สะทกสะท้าน ทั้งปีนป่าย และ กระโดดจากที่สูง ไม่สนสิ่งกีดขวาง และความสูง ขอให้ได้ออกกำลังระบายพลังงานออกจากร่างกายเป็นพอ จนบางครั้งอาจเกิดเหตุการไม่คาดฝันเกิดขึ้น

สาเหตุหลักของการบาดเจ็บของ แมวเมนคูน เกี่ยวกับกระดูก กรณีที่เกิดจากอุบัติเหตุคือ

  • พื้นที่เค้าอยู่มีความแข็ง และลื่น เนื่องจาก แมวเมนคูนมีขนใต้เท้าที่ยาวสาเหตุมาจากเค้าเป็น แมวที่เกิดในประเทศที่มีหิมะ ฉะนั้นธรรมชาติจึงสร้างขนใต้เท้าให้ยาวเพื่อป้องกันความเย็นที่จะทำร้ายเค้าได้ ปกติเคยอยู่แต่ในธรรมชาติ แต่เมื่อถูกวิวัฒนาการโดยคนนำมาเลี้ยงเป็นเพื่อนแก่เหงา เราต้องดูแลเรื่องนี้ให้เค้านิดหนึ่งครับ เพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อสะโพก และ การกระโดดลงจากที่สูงแล้วลื่นทำให้อาจเกิดการบาดเจ็บที่กระดูกได้
  • แมวเมนคูน เป็นแมวที่อยากรู้อยากเห็นชอบเรียนรู้ ชอบปีนป่ายไปทั่ว ยิ่งเป็น เมนคูนเด็กๆยิ่งต้องระวังให้มาก ยิ่งบ้านที่มีกรง หรือฝาที่มีลักษณะเป็นซี่ หรือ ตะแกรง เพราะนิ่วอาจจะไปติดบริเวณตะแกรง หรือซี่ลูกกรง ด้วยน้ำหนักตัวที่ใหญ่ทำให้ อาจเกิดอาการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้ออักเสบ หรือถึงขั้นกระดูกร้าว หรือหักได้เลยทีเดียว

วิธีป้องกันขนเท้า เมนคูนจะยาวไปไหน

ควรตัดขนให้เท้าให้เค้าเป็นระยะ หมั่นสังเกตุว่าขนใต้เท้าของ แมวเมนคูนเริ่มยาวเกินไปหรือไม่ เพื่อป้องกันการลื่นไถลเวลากระโดดลงจากที่สูง

วิธีการตรวจดูว่า เมนคูนที่ได้รับบาดเจ็บ กระดูกมีปัญหา เบื่องต้น

แนะนำว่าดีที่สุดคือการนำ เมนคูนที่ประสบอุบัติเหตุจากความเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้น ไปหาคุณหมอ แนะว่าหาคลีนิคที่มีเครื่อง Xray เพราะถ้าไปคลินิคที่ไม่มีเครื่อง คุณหมอก็ให้ไปหาที่ Xray อยู่ดีแต่ในกรณีที่ เราพบเจออาการตอนกลางดึกหรือ ที่ไม่สะดวกจะนำไปพบคุณหมอ
ลองจับบริเวณที่ เมนคูนมีอาการบาดเจ็บ ลองสังเกตุพฤติกรรมการเดินของเค้าว่าเจ็บบริเวณไหน เอามือคลำบริเวณที่เค้ามีอาการบาดเจ็บ แล้วเปรี่ยบเที่ยบกับข้างที่ไม่บาดเจ็บว่ามีความแตกต่างกันมากไหม ถ้ามีอาการเล็กน้อย หรือแค่อักเสบ เวลาเราเอามือไปบีบคลึงจะไม่รู้สึกถึงเสียงก๊อบแก๊ปจากข้างใน นั้นแปลว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก แต่ถ้าเราเอามือบีบ คลึงแล้วมีเสี่ยงก๊อปแก๊ป เราสามารถสำผัสรู้ได้อันนี้ไม่ค่อยดีแล้วควรรีบเอาไป Xray

ระยะเวลาของการรักษากระดูก ลูกแมวเมนคูน

หากเกิดเหตุการอันไม่คาดคิดขึ้นกับ เมนคูนถึงขั้นกระดูกหัก เราต้องใช้วิธีการเข้าเฝือกช่วย เพื่อไม่ให้ แมวเมนคูนใช้อวัยวะส่วนที่มีปัญหา ควรรอระยะเวลาสัก 2-3 วันก่อนการเข้าเฝือกเพราะ ระยะนี้ยังมีอาการบวมอักเสบอยู่ ถ้าเข้าเฝือกช่วงนี้ อาจต้องมาขยับเฝือก เพราะหากมีอาการบวม เฝือกแน่นเกินไปเลือดไหลเวียนไม่สะดวก อาจเกิดปัญหาหนักกว่าที่คิด เหมือนเราเอาหนังยางรัดนิ้วตัวเอง เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงปลายนิ้วได้
ไม่ต้องกังวลว่าเราจะเข้าเฝือกช้าไปเพราะกระดูแมว ก่อนจะผิดรู้ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ฉะนั้นเราสามารถรอได้ แต่ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของคุณหมอนะครับ แนะนำให้กักบริเวณ หมายถึง ขังกรงนะครับ ต้องการให้เจ้าแสบใช้เท้าให้น้อยที่สุด เพื่อลดการอักเสบ และช่วยให้กระดูกแมวที่เคลื่อน หรือแตกหัก ไม่เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น
สำหรับแมวเด็กอายุก่อน 4 เดือนกระดูกจะติดได้ภายในระยะเวลา 10-14 วัน ทั้งนี้ควรให้แคลเซียมเสริม แต่ไม่แนะนำแคลเซียมโดยตรง เนื่องจากอาจมีผลสะสมในร่างกายได้ ควรให้ FBC เป็นยาบำรุงเลือดที่มีแคลเซี่ยมผสมอยู่ ซื้อได้ตามรายขายยาทั่วไป นำมาแบ่ง 3 ส่วนแล้วป้อนเช้า-เย็น แคลเซี่ยมที่ดีให้กินน้อยแต่บ่อยจะได้ผลดีกว่า
สรุป ป้องกันดีกว่าแก้ไข ขอให้แมวเมนคูนของเพื่อนๆ มีสุขภาพดี ไม่ป่วยกัยทุกคนนะคร๊าบ

วิธีดูอาการ เมนคูน เป็นไข้เบื้องต้น

    แมวเมนคูน รวมถึงแมวสายพันธ์อื่นๆทั่วๆไป ปกติจะมีอาการร่าเริงซุกซนตามภาษาแมว จนบางครั้งทำให้พ่อ แม่ และ ทาสแมวอย่าเราถึงกับอ่อนเพลียกันเลย แต่บางครั้งอุปนิสัยอันร่าเริงเปลี่ยนไป อาการเจ็บป่วยใดๆก็ตามแต่หากเรารู้แต่เนิ่นๆย่อมดีกว่ารู้เมื่อสาย
ในบทความนี้จะขอแชร์ เทคนิคการดูแล เมนคูน ที่บ้านอลังการใช้ในการตรวจวัดไข้เบื่องต้นเพื่อป้องกัน เมนคูนน้อยของเราป่วยหนักในภายหลัง
สิ่งที่เราต้องมีอันดับแรกคือความใส่ใจ และการมีเวลาเล่นกับเค้า บางท่านทำงานนอกบ้านค่อนข้างไม่มีเวลาให้กับ น้องแมว หรือ สัตว์เลี้ยง อันนี้ขอเวลาสักวันละครึ่งชัวโมงก็ยังดีสำหรับการผ่อนคลายของทั้งัวท่านเอง และ เมนคูนตัวน้อย เมื่อเรามีเวลาให้เค้าได้ใกล้ชิดเราจะจับสังเกตได้ว่า เค้าปกติ หรือมีอาการเจ็บป่วยแอบแฝง

อาการ เมนคูน ที่เราสังเกตได้ง่ายๆได้แก่

  1. แมวเมนคูน ไม่ค่อยเล่นซนเหมือนเคย
  2. แววตาของเค้าจะมีเยื่อตาจากหัวตาออกมามากเป็นพิเศษ
  3. สังเกตจากการขับถ่าย ถ้ามีอาการถ่ายเหลวอันนี้เป็นสัญญานอันตราย บางครั้ง ฟาร์มแมวเมนคูน หรือไม่ได้เป็น ฟาร์มแมว แต่เลี้ยงแมวรวมกันหลายตัว สังเกตจากกระบะทรายว่ามี แมวที่ถ่ายเหลวแต่ไม่รู้ว่าเป็นตัวไหน ให้ลองสังเกตจากก้นของแมวทุกตัว ก้นของแมวที่ขับถ่ายเหลวจะแตกต่างจากก้นของแมวทั่วๆไป
  4. ลองจับที่ใบหูของเค้าว่าร้อนหรือไม่ อันนี้สำคัญมากสำหรับการวัดไข้ แมวเมนคูนครับ เนื่องจากตำแหน่งที่ใช้ระบายความร้อนในร่างกายแมวมีเพียงไม่กี่ตำแหน่ง หูเป็นตำหน่องที่ระบายความร้อนแมวได้ดีที่สุด ข้อสังเกต แมวพันธ์ สก๊อตติส โฟลด์ ถ้าเราเลี้ยงในที่อาการร้อนหูมักจะเด้งขึ้น เพราะร่างการระบายความร้อนไม่ได้ ธรรมชาติจึกปรับให้ระบบระบายความร้อนทำงานได้ดีขึ้นหู แมวสก๊อตติส โฟลด์ จึงเด่ง

วิธีการดูแลเบื้องต้นสำหรับแมวเป็นไข้

หาก เมนคูน มีอาการดังกล่าวลองนำน้ำเย็นมาเช็ดบริเวณใบหู ฝ่าเท้าเพื่อลดอาการไข้ลง ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ต้องทานยาแก้อักเสบ และกันการติดเชื้อร่วมด้วย แนะนำไปปรึกษาแพทย์ครับ ปรึกษาแต่เนิ่นๆปลอดภัย

แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพบสัตวแพทย์

ให้เราขอยาที่ไม่มีสเตียรอย ถ้าเป็นไปได้ขอยาที่เป็นยาของเด็กอ่อนจะดีมาก แล้วลดโดสยาให้เหมาะกับน้ำหนักของ เมนคูนครับ

เทคนิคการให้อาหารลูกแมวเมนคูน
การเลี้ยงลูแมวเมนคูนตอนเด็กเป็นเรื่องที่สำคัญมากและ ละเอียดอ่อน ควรให้ความสำคัญกับโภชนาการ และ ความสะอาด เนื่องจาก ในช่วงนี้ลูกแมวเมนคูนจะมีการเจริญเติบโตเรียกว่าโตเป็นรายวันก็ว่าได้ ถ้าหาก ลูกแมวเมนคูนได้อาหารไม่ดีพอ หรือมีอาการเจ็บป่วย จะทำให้พัฒนาการช้าลงไปอย่างมาก
เทคนิคพิเศษการให้อาหารลูกแมวเมนคูนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นเทคนิคที่บ้านอลังการเมนคูนใช้ดูแล แมวของที่บ้านมาทุกคลอก และ ได้แมวที่มีสุภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย มีการเจริญเติบโตที่ดี เทคนิคการเลี้ยงลูกแมวเมนคูนดังกล่าวคือ
  1. ควรให้ลูกแมวเมนคูนหัดกินอาหารตั้งแต่ 21 วัน อย่างช้าที่สุดควรให้เค้าทานให้ได้ก่อนอายุ 35 วัน
  2. ควรเริ่มการให้อาหารลูกแมวเมนคูนจากอาหารเปียกก่อน โดยเน้นที่อาหารซอง ไม่แนะนำอาหารกระป๋องเพราะอันตรายจากรอยต่อข้างกระป๋องอาจมีสารตะกั่วเจือปน
  3. เมื่อลูกแมวเมนคูนหัดทานอาหารเองได้แล้ว คราวนี้ก็หัดให้เจ้าเมนคูนน้อยมาสนใจอาหารเม็ด โดยใช้อาหารเม็ดแช่น้ำก่อนเพื่อให้ง่ายแก่การกินของลูกแมว
ข้อแนะนำ : ไม่ควรวางอาหารลูกแมวเมนคูนที่เป็นอาหารเปียกเกิน 2-3 ชั่วโมง เนื่องจากความชื่นที่อยู่ในอาหารอาจทำให้เกิดแบคทีเรียขึ้นได้


ฝึกลูกแมวเมนคูน

สำหรับผู้ที่รักแมวเมนคูนทุกคน หรือทาสแมวทุกท่านคงไม่มีใครปฎิเสธความน่ารักหากเมนคูนของคุณวิ่งเข้าหา ชอบนั่งตัก นั่งบนอก ขอบมีกิจกรรมร่วมกับคุณตลอดเวลาเพื่อนๆทราบหรือไม่ครับว่า พฤติกรรมเหล่านี้เกิดจากตอนเด็กช่วงประมาณ 2-7 สัปดาห์หลังคลอด หากเรารู้เทคนิคบางอย่างเราจะมีเมนคูนที่นิสัยน่ารักมากมายไปตลอดครับ
อย่างแรกที่ผู้รักเมนคูนต้องทราบหากท่านบรีดลูกแมวเอง ท่านจำเป็นต้องให้เวลากับลูกแมวในช่วงนี้โดยนำเจ้าเมนคูนน้อยมาอุ้มวันล่ะอย่างน้อย 15 นาทีเพื่อให้เกิดปฎิสัมพันธ์กับคน แต่หากท่านเพิ่งเลือกซื้อลูกแมวเมนคูนมาเลี้ยงแนะนำให้ศึกษาลูกเมนคูนคลอกก่อนๆว่ามีนิสัยอย่างไร เพราะหากผู้ขายสร้างนิสัยความสัมพันธ์ลักษณะที่ผมกล่าวไว้ตั้งแต่เด็กแมวเมนคูนจะมีสัญชาตญาณเข้ากับคนได้ง่าย ไม่กลัวคนรวมทั้งชอบเข้าหาผูกพันธ์เกือบตลอดเวลาด้วยครับ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น