วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ประวัติแมวสายพันธุ์เบงกอล (Bengal)


ประวัติแมวสายพันธุ์เบงกอล (Bengal)


แมวสายพันธุ์เบงกอล (Bengal)

           แมวเบงกอลนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวหลายชนิด อาทิ อะบิสซิเนียน อเมริกันขนสั้น เบอร์มีส อียิปต์เชียนมัวร์ และแมวเสือดาวเอเชีย ในช่วงระหว่างปียุค 60 นั้น บรรดานักวิจัย อาทิ ช็อง มิลส์ในแคลิฟอเนีย ได้ทำการศึกษาโรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับแมว เช่น โรคลูคิเมียและโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ระหว่างการทำวิจัยนั้น ก็ค้นพบว่าแมวป่า เช่นสิงโตหรือเสือนั้นมีภูมิต้านทานต่อโรคบางชนิด แมวเสือดาวเอเชียจึงได้ถูกนำมาผสมพันธุ์กับแมวบ้านธรรมดาเพื่อศึกษาว่าระบบภูมิคุ้มกันนั้นมีการทำงานในการต่อต้านโรคเหล่านี้ได้อย่างไร จากนั้นในปี 1963 คุณนายมิลส์ ก็ได้ทำการผสมพันธุ์แมวเสือดาวเอเชียตัวเมียกับแมวบ้านสีดำตัวผู้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมานั้นก็คือ ลูกแมวที่มีทั้งสีเดียวล้วนและมีลายจุด ซึ่งต่อมา หนึ่งในลูกแมวลายจุดตัวเมียนั้นก็ได้ถูกนำมาผสมพันธุ์กับแมวที่เป็นพ่อของมัน และลูกที่ออกมาครอกนั้นเป็นลูกแมวลายจุดทั้งหมด ซึ่งตรงนี้เองที่เป็นจุดกำเนิดของแมวเบงกอล ด้วยเหตุนี้น้องเหมียวเบงกอลจึงเป็นแมวสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์เพราะเป็นแมวลายจุดเพียงสายพันธุ์เดียวที่สืบเชื้อสายมาจากแมวป่าขนาดใหญ่ซึ่งก็คือ แมวเสือดาวเอเชีย นอกจากนี้ เป้าหมายในการพัฒนาแมวเบงกอลขึ้นมานั้นก็เพื่อสร้างแมวที่มีลักษณะคล้ายกับบรรพบุรุษของมันซึ่งเป็นแมวป่า แต่สามารถนำมาทำเป็นแมวเลี้ยงได้ น้องเหมียวเบงกอลในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีความพิเศษ น่าสนใจ และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้โชคดีที่ได้พบเจอมัน ยิ่งไปกว่านั้น สีสันและลวดลายที่งดงามของมันนั้นทำให้มันเป็นสายพันธุ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น น้องเหมียวอารมณ์ดีสายพันธุ์นี้ยังเหมาะสมกับผู้เลี้ยงเกือบทุกประเภทและอยู่ได้เกือบทุกสถานการณ์อีกด้วย แต่ต้องจำไว้อย่างว่า แมวเบงกอลเป็นแมวที่ซุกซน กระตือรือร้น และขี้เล่นมาก และยังชอบทำตัวเป็นเจ้านายเสียด้วย ดังนั้นก็ควรมีใครที่สามารถดูแลและรับมือเจ้าเหมียวสายพันธุ์นี้ได้อย่างเหมาะสม! นอกจากนี้ แมวเบงกอลยังเฉลียวฉลาด และสอนพวกคำสั่งพื้นฐานได้ง่าย คุณสามารถปล่อยให้พวกมันเดินนำไปได้เลย เพราะพอเรียก มันก็จะมาหาคุณเองทันที เหมือนกับแมวตัวอื่นๆที่มาหาเจ้าของอย่างกับมี “โทรจิต” นั่นเอง ถ้าคุณอยากเลี้ยงแมวที่เป็นมิตร น่ารักน่าชัง และมีประวัติความเป็นมาที่ไม่เหมือนใครแล้ว

1. ต้นกำเนิด

           การกำเนิดขึ้นของแมวเบงกอล เริ่มโดย คุณ Jean Mills หญิงชาวมลรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่หลงใหลในลวดลายของแมวป่า เธอใช้เวลาถึง 20 ปี (เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ. 2523) ในการพัฒนาให้มีจุด (Spotted ที่ใหญ่และแมวตัวผู้ไม่เป็นหมัน (แมวตัวผู้จะเป็นหมันใน F1 and F2) จนสามารถสร้างจุดให้ใหญ่และมีสีที่ตัดกันในจุดมากขึ้นด้วย และเธอตั้งชื่อสายพันธุ์นี้ว่า เบงกอล ตามชื่อวิทยาศาสตร์ของแมวป่าที่เรียกกันว่า Felis Bengalensis นั่นเอง 




2. ลักษณะประจำพันธุ์

          แมวเบงกอล (Bengal) เป็นแมวที่ผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างแมวดาว (Asian Leopard Cat) กับแมวบ้าน (Domestic Shorthair) ในที่นี้คือ Egyptian Mau คือ พันธุ์แมวอียิปต์โบราณ และมีโครงสร้างเป็นลายจุด มีลักษณะที่เหมือนแมวป่า (Wild Cat) ซึ่งเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ของแมวดาวกับ E.Mau and Ocicat 

           แมวเบงกอล เป็นแมวขนาดปานกลางถึงค่อนข้างใหญ่ หัวมีความยาวมากกว่ากว้าง เพราะถูกผสมโดยควบคุมลักษณะให้มีรูปร่างคล้ายแมวป่า เพรียว ยาว เห็นมัดกล้ามเนื้อแบบนักล่าชัดเจน โดยจะมีความสูงส่วนสะโพกสูงกว่าความสูงของช่วงไหล่ หางส่วนมากจะมีปลายชี้ลง ใบหูกลม สั้น ตารูปไข่ (Oval) ช่วงโคนหนวดเด่น ช่วงปากและรอบจมูกกลมกว่าแมวบ้าน จุดที่เด่นที่สุดของแมวเบงกอล ได้แก่ ลายและสีขนที่อาจเป็นจุดแบบแมวป่าหรือลายหินอ่อน

          หากเริ่มสนใจจะหาเจ้าเหมียวพันธุ์เบงกอลมานอนกอดสักตัว ควรเลือกซื้อแมวเบงกอลที่มีโครงสร้างใหญ่ ลำตัวยาว มีลวดลายบนตัวที่เด่นชัดขนาดเท่าหัวแม่มือ จุดด้านข้างลำตัวมีขนาดใหญ่และเรียงตัวอย่างไม่เป็นระเบียบในแนวนอน แมวเบงกอลบางตัวจะมีลวดลายโรเซตที่เป็นจุดขนาดใหญ่ที่มีสีอ่อนกว่าตรงกลาง จุดคล้าย ๆ กับลายของเสือจากัวร์ ซึ่งเป็นที่ต้องการมากกว่าแมวที่มีจุดสีเดียวตามปกติ 

          ลายทางที่หน้าผากควรมีสีเข้มลากยาวในแนวนอนจากหางตาไปถึงใบหู และควรมีเส้นสีเข้มเป็นสร้อยคอยาวรอบ ๆ คอเฉียบคม ขนเงานุ่ม ใบหน้าของลูกแมวนั้นต้องมีลักษณะที่แสดงถึงความเป็นแมวป่า มีขอบตาดำสนิท เส้นที่ใบหน้าเข้ม ริมฝีปากใหญ่เต็ม มีหางที่หนา มีจุดที่ขาหรือเป็นวงที่ไม่เต็มวงรอบ ๆ ขา มีสีอ่อนบริเวณรอบปาก คอ และขาด้านใน ดวงตานั้นสามารถจะเป็นสีเขียว สีทอง หรือสีเหลือง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น